วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เคล็ดลับ การ เรียนภาษาอังกฤษ ให้ เก่ง

เคล็ดลับ การ เรียนภาษาอังกฤษ ให้ เก่ง


ลองอ่านดูนะคะ แล้วช่วยเพิ่มเติมวิธีการเรียนภาษาอังกฤษกันมา เพื่อคนไทยได้เก่งอังกฤษกัน

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เราจะต้องมี Passion หรือ ความรู้สึกที่ดีกับสิ่งนี้ หากคุณไม่ทราบว่าอะไรคือ Passion หรือ ความรู้สึกที่ดี คืออะไร ลองย้อนกลับไปมองสิ่งต่างๆ ที่คุณเคยอยากได้ อยากมีสิครับ ยกตัวอย่างเช่น คุณอยากได้เสื้อผ้าดีๆ สวยๆ กระเป๋ายี่ห้อดังๆ หรือ แม้แต่ตอนที่คุณจีบแฟนคุณ เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะคุณมี Passion ซึ่งทำให้คุณทุ่มเทพละกำลัง ความตั้งใจ ความพยายามให้ได้มันมา เพราะรู้ว่า มันมีค่ากับคุณแน่นอน

ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน สิ่งแรกที่คุณต้องมีคือ Passion หรือ ความรู้สึกที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ซึ่งเราต้องคิดต่อว่า แล้วเราจำเป็นต้องรู้ หรือ มีภาษาอังกฤษไว้ทำไม คำตอบคิอ ต้องมีครับ (Must have) เพราะในปัจจุบันนี้ทุกอย่างในชีวิตประจำวันเราคือ ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนและการ ทำงาน อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน

ในปัจจุบันนี้ การรู้ภาษาอังกฤษไม่ใช่เป็นเรื่องของความสามารถพิเศษแล้ว ลองจินตนาการการสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานของบริษัท เมื่อคุณตอบคำถามว่า คุณทราบภาษาอังกฤษ ผู้ที่สัมภาษณ์คุณไม่ได้มองว่าคุณมีความสามารถที่โดดเด่นไปจากคนอื่นเลย บางบริษัทที่มีชื่อเสียง ยังบังคับให้คุณไปสอบภาษาอังกฤษกับการสอบที่มาตรฐาน เช่น TOEIC, TOELF, IELS ตลอดจน CU-TEP, TU-GET แล้วนำคะแนนสอบที่ผ่านตามเกณฑ์มาร่วมพิจารณากับคุณสมบัติอื่นๆ ส่วนการสอบเข้าเรียนในระดับต่างๆ แทบไม่ต้องกล่าวถึง ต้องใช้คะแนนภาษาอังกฤษมาเป็นเกณฑ์ หรือ แทบจะเป็นตัววัดตัวสุดท้ายในการตัดสินในการเข้าศึกษา

ยิ่งกล่าวไปทำให้เครียด จนมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อภาษาอังกฤษ เราลองย้อนกลับมาพิจารณา แล้วจะทำอย่างไรให้เก่งภาษาอังกฤษ ผมคิดว่าคงไม่มีกฎเกณฑ์ใดตายตัว หากแต่จะเป็นเรื่องของการแนะนำส่วนตัว แต่ท้ายที่สุดต้องขึ้นกับผู้ที่ศึกษาเองว่ามี Passion แล้วทุ่มเทกับภาษาอังกฤษ แค่ไหน ดังนั้นผมขอแนะนำวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำเอาไปใช้ นะครับ

หากแยกประเภทการเรียนภาษาอังกฤษ ผมขอแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก คือ

1. ไวยากรณ์ (Grammar)
2. ศัพท์ (Vocabulary)
3. การอ่าน (Reading)
4. การเขียน (Writing)
5. การฟัง (Listening)
6. การพูด (Speaking)

1. ไวยากรณ์ (Grammar)
ไวยากรณ์ หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Grammar ถือว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากับคนไทยเรามาเป็นเวลาหลายสิบปี การเรียนรู้ภาษาอังกฤษขึ้นต้นของผู้เรียน ก็เริ่มจากการเรียนไวยากรณ์ ซึ่งใช้เวลาเกือบสิบปี เรียนกันตั้งแต่เด็กไปถึงผู้ใหญ่ ก็ยังไม่จบ เลยทำให้มีคำถามตามมาว่า ทำไมต้องเรียน เรียนแล้วก็ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้

จริงแล้วการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะทำให้ทราบถึงรูปแบบของภาษาในการเรียงถ้อยร้อยคำที่ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารให้เข้าใจระหว่างกัน การเรียนไวยากรณ์ต้องใช้ความอดทนในการทำความเข้าใจและจดจำ กฎ และข้อยกเว้นต่างๆ (ซึ่งข้อยกเว้นต่างๆ มักจะนำไปออกข้อสอบ) อีกทั้งต้องคอยสังเกตรูปแบบ

การเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แทบจะไม่มีอะไรมาก นอกเสียจากลองไปหาหนังสือไวยากรณ์ดีๆ สักเล่ม ลองเลือกเล่มที่ไม่ต้องหนามาก เอาขนาดกลางๆ ก็พอ แล้วค่อยๆ ศึกษา ทบทวน กอปรนึกถึงตอนเคยได้รับการเรียนรู้มาแล้ว จากนั้นทำแบบฝึกหัด หากคุณไม่สามารถบังคับตัวคุณให้ทำอย่างนี้ได้ ลองเดินไปเรียนพิเศษ หรือติวหลักไวยากรณ์ เพื่อจะได้เรียนรู้หลักการจำ การทำความเข้าใจภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจจะทำให้คุณเข้าใจไวยกรณ์ภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อเรียนจบแล้ว คุณต้องกลับมาทบทวน ทำความเข้าใจเรื่อยๆ นะครับ มิฉะนั้นแล้ว ทุกอย่างจะกลับไปคืนผู้สอนหมด ทำให้คุณเสียเงินและยังเสียเวลา แล้วไม่ได้อะไรอีกด้วย


ที่มา http://www.interscholarship.com

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คำศัพท์ภาษาอังกฤษสอนอย่างไรให้ได้ผล

คำศัพท์ภาษาอังกฤษสอนอย่างไรให้ได้ผล
" ถ้าไม่มีความรู้ด้านไวยากรณ์ เราก็จะสื่อสารได้ไม่มาก
1. บทบาทของคำศัพท์ในการสอนภาษา การสอนคำศัพท์โดยมีจุดหมายให้ผู้เรียนนำไปสื่อสารได้ ผู้เรียนต้องมีความรู้คำศัพท์ อย่างลึกซึ้งในเรื่องต่อไปนี้
- สารมารถออกเสียงได้ถูกต้อง
- สามารถสะกดคำได้ถูกต้อง
- ใช้คำศัพท์ร่วมกับคำอื่นได้
- สามารถจดจำได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
- สามารถนึกคำศัพท์ได้ทันทีที่เวลาต้องการพูด
- สามารถนำคำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้
- สามารถใช้คำศัพท์ได้ถูกหลักไวยากรณ์
- สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
2. เทคนิคการสอนคำศัพท์
- สอนโดยการสาธิต ใช้ท่าทางประกอบ
- สอนโดยใช้สื่อ เช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง ของจริง แผ่นใส เขียนบนกระดานดำ
- อธิบายด้วยคำพูด เช่น การใช้คำเหมือน การใช้คำตรงกันข้าม
3. แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น
- cross word
- Matching word and definition exercise

- Vocabulary game and activities
การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ได้ผล ผู้สอนใช้กลวิธีการสอนดังกล่าวข้างต้นและต้องกระทำอย่างต่อเนื่องทั้งในเวลาปกติในห้องเรียนและนอกห้องเรียน อาจจัดเป็นมุม Vocabulary เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมีความสุขมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา
(Educational Innovation)หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
คือระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่ สนองแนวความคิด เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน

kroo eng